- cwongsurasil
7 ปัจจัยช่วยอินเดียในวิกฤติโควิด

[Covid} หลาย ๆ คนที่ตามข่าวหรือไม่ตามข่าวโควิด คงจะรับรู้ถึงวิกฤตโควิดในอินเดีย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาว่า หนักหน่วงขนาดไหน
ทั้งยอดผู้ติดเชื้อที่เคยทำสถิติได้ 400,000 คนใน 1 วัน คนตายที่มีเยอะมากเกินจนเผาไม่ทัน โรงพยาบาลล้น คนต้องแย่งกันหาที่รักษาบางคนไม่มีที่รักษาก็มี
ซึ่งในปัจจุบันไทยเองนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเจริญรอยตามอินเดียเช่นเดียวกัน เพราะว่ายอดผู้ติดเชื้อนั้นพุ่งสูงอย่างน่าใจหายในหลาย ๆ ครั้ง และยังขึ้น ๆ ลง ๆ แบบที่ทำให้ใจเต้นไม่เป็นจังหวะเลยทีเดียว
แต่ว่าในอินเดียนั้นใช้เวลาเพียงไม่นานเลยในการกู้สถานการณ์ให้การระบาดจากหลักแสนลดลงสู่หลักหมื่น ซึ่งจากตัวเลขในวันที่ 1 พ.ค. พบผู้ติดเชื้อถึง 401,993 คน แต่ว่าภายในเวลาแค่ 1 เดือนนั้นก็ลดลงอย่างมาก โดยในวันที่ 1 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อ 127,510 และในวันที่ 18 ก.ค. พบผู้ติดเชื้อเพียง 60,471
จะเห็นได้ว่าอินเดียใช้เวลาไม่นานเลยที่ลดผู้ติดเชื้อจากหลักแสนลงมาสู่เพียงหลักหมื่น
ซึ่งเรื่องน่าสนใจนี้สถาบันเพื่อการพัฒนาโลก หรือ Center for Global Development ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาก็ได้ทำการศึกษาและสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดีย ว่าสาเหตุที่ทำให้อินเดียสามารถลดตัวเลขผู้ติดเชื้อได้เร็วขนาดนี้นั้นเป็นเพราะ7 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
1 ตัดสินใจทุกอย่างโดยทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
.
ผู้เชี่ยวชาญในที่นี้คือนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ โดยทำการจัดทีมเฉพาะกิจพิเศษ ที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น ทีมที่หาถังออกซิเจนก็หาถังออกซิเจนกันอย่างเดียว ทีมหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก็ทำการศึกษาวิจัย
.
ซึ่งได้มีการร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษเพื่อขอข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจในการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดทำให้ทางรัฐสามารถตัดสินใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และกระจายงานให้หน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2 ตรวจตัวชี้วัดทางระบาดวิทยาอย่างเข้มข้น
อินเดียเอาจริงเอาจังกับการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ที่มีการระบาด ทั้งเก็บข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อ ผู้รักษาตัว ผู้เสียชีวิต โดยเก็บเป็นสถิติเอาไว้ อย่างแม่นยำห้ามผิดพลาด เพื่อต่อยอดสู่วิธีการจัดการที่ถูกต้องต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลน้ำเสียด้วยเพราะต้องตรวจเชื้อโรคในน้ำเสียด้วย โดยหากว่าเขตไหนที่ยังไม่ได้ทำการตรวจเชื้อแต่พบเชื้อโรคในน้ำเสีย เขตนั้นจะถือว่าเป็นพื้นที่ระบาดทันที
3 ลงทุนตรวจหาเชื้อและการกลายพันธุ์อย่างเข้มงวด
เพราะว่าตรวจหาเชื้อมากจึงเจอผู้ติดเชื้อมาก และเมื่อพบผู้ติดเชื้อแล้วก็สามารถแยกออกมาได้ทันเวลาก่อนที่จะระบาดไปมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยหลักการ ตาม ตรวจ แยก และเฝ้าสังเกตการณ์กลายพันธุ์อย่างเข้มข้น
และยังเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่ตรวจเจอการกลายพันธ์ุของเชื้อได้ช้าจึงทำการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อจะไม่พลาดอีก
4 ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์สูงสุด
โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเฝ้าระวังโรค และมีการร่วมมือกับทางอังกฤษ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีนั้นนำมาใช้ทั้งในการตรวจหาผู้ติดเชื้อ การตรวจจับอาการของโรค และการประเมินอาการได้ ผ่านแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ตโฟน ที่สามารถใช้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก แถมยังราคาถูก เข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย
5 วางแผนฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้ระบบกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ ฉีดวัคซีนได้รวดเร็วและใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีโรงงานผลิตวัคซีนของตัวเอง
มีระบบติดตามวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนหน้านี้รัฐไม่ใช่คนควบคุมการฉีดวัคซีน แต่เมื่อสถานการณ์แย่ลงรัฐก็เข้ามาบริหารจัดการให้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าจากการควบคุมบริหารจัดการที่ดีด้วย
6 เตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ
แม้ผู้ติดเชื้อจะน้อยลงแต่ก็ไม่มีความประมาท เตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ จัดเตรียมทีมที่พร้อมและอุปกรณ์ที่พร้อมอยู่เสมอ หากมีการกลับมาระบาดใหม่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมืออยู่เสมอ หากมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออีกรอบ
และยังพร้อมให้บริการทางสาธารณสุขกับประชาชนทุกคนอย่างเต็มที่
7 สื่อสารกับประชาชนชัดเจน
อินเดียยังคิดว่าโควิดจะกลับมาอีกไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง จึงต้องทำการสื่อส
รอย่างต่อเนื่องให้คนคอยระวังและป้องกันเพื่อให้ผู้คนตระหนักอยู่เสมอว่าโรคไม่ได้หายไปไหน
ด้วยปัจจัยเหล่านี้นี่เองที่ทำให้อินเดียคลี่คลายสถานการณ์โควิดให้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ